เมนู

สมฺปฏิจฺฉามิ โยมจะรับถ้อยคำของพระผู้เป็นเจ้าจำไว้ เป็นข้อวัตรปฏิบัติแก่กุลบุตรทั้งหลาย
ัอันเกิดมาในอนาคตกาลภายภาคหน้าในกาลบัดนี้
วัณณภณปัญหา คำรบ 1 จบเท่านี้

อหิงสานิคคหปัญหา ที่ 2


ราชา

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต
นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าผู้ประกอบด้วยปรีชา สมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์
เจ้ามีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ภิกฺขเว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านจงมีความรักความเอ็นดูสัตว์โลกนี้แล
วโร ประเสริฐ ตรัสฉะนี้แล้ว ครั้นมามีพระพุทธฎีกาตรัสเล่าว่า ภิกฺขเว ดูกรภิกษุทั้งหลายโลก
ทั้งปวงควรจะข่มขี่ ตถาคตก็ข่มขี่ ควรจะยกย่อง ตถาคตก็ยกย่อง นี่แหละพระผู้เป็นเจ้า นิคฺคโห
ธรรมดาว่าควรที่จะข่มขี่ก็ให้ข่มขี่ หตฺถเฉชฺชํ ควรที่จะตัดมือให้ตัดมือ ปาทเฉชฺชํ ควรจะตัดเท้าก็
ตัดเท้า ควรจำจองก็จำจอง ควรจะฆ่าก็ฆ่าให้ตาย ธรรมดาจะข่มขี่คนทั้งหลายก็ต้องกระทำดังนี้
พระองค์มีพระพุทธฎีกาว่า ควรจะข่มขี่ให้ข่มขี่นั้น โยมนี้เห็นไม่ควรนักหนา สมเด็จพระศาสดา
ไม่ควรจะตรัสฉะนี้ แม้จะเชื่อเอาพระพุทธฎีกาที่ตรัสไว้แต่เดิมว่า อย่าเบียดเบียนสัตว์ ให้รัก
สัตว์เอ็นดูสัตว์ในโลกนี้ คำภายหลังที่พระองค์ตรัสว่า โลกควรจะข่มขี่ให้ข่มขี่ ควรจะยกย่อง
ให้ยกย่องดังนี้ จะมิผิดหรือ ครั้นจะเชื่อเอาพระพุทธฎีกาภายหลังที่ว่าควรจะข่มขี่ให้ข่มขี่ พระ
พุทธฎีกาที่ตรัสมาแต่เดิมนั้นก็จะผิด อยํ ปญฺโห อันว่าปัญหานี้ อุภโต โกฏิโก เป็นอุภโตโกฏิ
นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าโปรดวิสัชนาไปในกาลบัดนี้
เถโร ฝ่ายพระนาคเสนผู้พระอรหันต์อันวิเศษประเสริฐด้วยญาณปฏิสัมภิทา จึงมีเถร-
วาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ซึ่งพระพุทธฎีกาตรัสไว้แต่เดิมว่า ดูกร
ภิกษุท่านจงสมัครรักใคร่สัตว์ เอ็นดูสัตว์ อย่าเบียดเบียนสัตว์โลกนี้ วโร นี่แหละอุดมล้ำเลิศ
ประเสริฐยิ่งนัก ครั้นแล้วยังมีพระพุทธฎีกาว่า สัตว์โลกนั้นควรจะข่มขี่ ควรจะยกย่องให้
ยกย่อง พระพุทธฎีกานี้จะเป็นสองหามิได้ และคำที่ว่าให้สมัครรักใคร่สัตว์ทั้งหลาย นี่แหละ
สมเด็จพระมหากรุณาเจ้าตรัสตามอธิบาย สมเด็จพระพุทธเจ้าทั้งหลายแต่ปางก่อน ให้โอวาท
ความสั่งสอนสืบกันมา มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ ชื่อว่าธรรม
นั้นมีลักษณะมิได้มีวิหิงสาสัตว์ นี้เป็นคำอันจริงแท้ ไม่มีผิดเลย มหาราช ขอถวายพระ

พรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐในสมบัติ ซึ่งมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ควรจะข่มขี่ก็ให้ข่มขี่
ควรจะยกย่องก็ให้ยกย่องนั้น ใช่ว่าพระองค์จะให้ข่มขี่ด้วยวิหิงสาให้ยกย่องด้วยฉันทราคะก็หา
มิได้ คือพระองค์ทรงมุ่งความดูธรรมเป็นประมาณ กำหนดตามสภาวธรรมที่เป็นจริง คือจิตที่
ฟุ้งซ่านจึงให้ข่มขี่เสีย จิตที่สงบก็ให้ยกย่อง จิตที่เป็นอกุศลให้ข่มขี่ จิตที่เป็นกุศลให้ยกย่องเชิดชู
อโยนิโสมนสิการให้ข่มขี่ โยนิโสมนสิการให้ยกย่อง คนปฏิบัติผิดให้ข่มขี่ คนปฏิบัติชอบให้ยกย่อง
ผู้ที่ประพฤตินอกทางไม่ถูกต้องตามคลองธรรมพระอริยะ ให้ข่มขี่ ผู้ที่ประพฤติถูกธรรมเป็นพระ
อริยะให้ยกย่อง ผู้ที่เป็นโจรให้ข่มขี่ มิใช่โจรให้ยกย่อง มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ สมเด็จ
พระโมลีโลกเลิศในเทพาและมนุษย์ตรัสให้ข่มขี่และยกย่องโดยสัตย์โดยธรม จะเป็นด้วยอำ
นาจวิหิงสาและราคะหามิได้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรจึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาไป ๆ ก็กลับมาที่โยมถามเมื่อกี้นั้นแหละ ภนฺเต
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า บุคคลที่เป็นโจร พระผู้เป็นเจ้าว่าให้ข่มขี่นั้น ก็ผู้จะข่มขี่โจรจะพึงข่มขี่
อย่างไร พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงถวายพระพรวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระ
ราชสมภาร ผู้ที่จะข่มขี่โจรนั้น ก็ต้องข่มขี่ตามโทษ คือโทษควรจะบริภาษก็บริภาษ ควรจะ
ปรับไหม ก็ปรับไหม ควรจะขับเสีย ควรจะจำจองก็จำจองไว้ ควรฆ่าก็ฆ่าเสีย ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรบวรเลิศกษัตริย์ มีสุนทรพจนารถตรัสว่า ภนฺเต นาค-
เสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าประกอบด้วยปรีชา คำที่ว่าควรจะฆ่าก็จะฆ่านั้น เป็นพระอนุมัติ
ของสมเด็จพระบรมโลกนาถศาสดาจารย์เจ้าด้วยหรือ พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนถวายวิสัชนาว่า มิใช่พระอนุมัติของสมเด็จพระบรมโลกนาถเจ้า ขอถวาย
พระพรบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นภูมิบาลมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา อนุมโต ตถาคตานํ ที่พระผู้เป็นเจ้าว่า การฆ่าโจรนั้น มิได้ฆ่าโดยพระ
อนุมัติของสมเด็จพระบรมศาสดาแล้ว จะควรฆ่าด้วยเหตุไรเล่า พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ การฆ่าโจรนั้น มิได้
๋ฆ่าโดยพระอนุมัติของสมเด็จพระบรมศาสดา ฆ่าโดยโจรนั้นได้กระทำความผิดไว้เอง มีโทษ
ติดอยู่เขาจึงฆ่า สมเด็จพระบรมศาสดาย่อมตรัสพระสัทธรรมเทศนา เพื่อให้เป็นสวัสดิมงคลแก่
สัตว์ทั้งหลาย จะให้เบียดเบียนซึ่งกันและกันให้ต้องได้รับความเดือดร้อนนั้นหาบ่มิได้ มหาราช

ขอถวายพระพร อกโรนฺตํ อนุปราธํ ราชบุรุษทั้งหลายอาจสามารถจะจับบุรุษที่มิได้กระทำ
ความผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเดินเที่ยวอยู่ตามท้องถนนไปฆ่าเสียให้ตาย โดยพระราชโองการ
ของพระองค์ได้ละหรือ มหาบพิตร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ มีพระราชโองการตรัสว่า น หิ ภนฺเต ข้าแต่พระนาคเสนผู้เจริญ
ราชบุรุษจะจับผู้ที่หาความผิดมิได้ไปลงโทษฆ่าเสียนั้น หาควรไม่
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาถามว่า เป็นเหตุประการใดเล่าจึงไม่เป็นการสมควร มหา
บพิตร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชาจึงมีพระราชโองการตรัสว่า บุรุษผู้นั้นมิได้กระทำความ
ผิดอย่างใดไว้เลย จะไปลงโทษเขาอย่างไรเล่า พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ คนที่หาความผิด
มิได้ ราชบุรุษจะฆ่าเสียโดยพระโองการของพระองค์ไม่ได้ ต่อเมื่อบุรุษนั้นได้กระทำความผิด
ไว้เองจึงฆ่าได้มีอุปมาฉันใด การฆ่าโจรก็มิได้ฆ่าโดยพระอนุมัติของสมเด็จพระบรมศาสดา มี
อุปไมยฉันนั้น เพราะโจรมีความผิดอันกระทำไว้ด้วยตนเอง จึงต้องถูกฆ่า จะไปโทษพระ
สัทธรรมเทศนาของสมเด็จพระบรมศาสดาอย่างไรได้ มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ โจรนั้น
ถึงแก่ภัย ท่านฆ่าเสียด้วยกรรมของตนเช่นนี้ สมเด็จพระสัพพัญญูผู้สอน จะมีโทษด้วยหรือ
ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีพระราชโองการว่า จะมีโทษหามิได้
พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูกรบพิตรพระราชสมภาร ถ้าเช่นนั้นพระ
โอวาทที่พระองค์ตรัสเทศนาสั่งสอนนั้น จะมิเป็นประโยชน์เป็นผลเป็นสวัสดิมงคลหรือ บพิตร
พระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี ก็มีพระราชโองการรับถ้อยคำแล้วตรัสว่า สาธุ
โยมจะรับถ้อยคำมนสิการจำไว้ จะได้เป็นเยี่ยงอย่างไปภายหน้าในกาลบัดนี้
อหิงสานิคคปัญหา คำรบ 2 จบเท่านี้

ภิกขุปณามนปัญหา ที่ 3


ราชา อาห

สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต
นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าผู้ประกอบด้วยญาณปรีชา ภาสิตํ เจตํ คำดังนี้สมเด็จ
พระไตรโลกมุนีมีพระพุทธฎีกาตรัสว่า ตถาคตนี้ อโกธโน ไม่มีโกรธ วิคตขีโล มีโทษคือ
โทโสเป็นดังหลักตอปราศจากพุทธสันดานแล้ว ปุน จ ครั้นแล้วสมเด็จพระบรมโลกนาถ
ศาสดาจารย์ ปณาเมสิ มีพระพุทธฎีกาตรัสขับพระโมคคัลลานะและพระสารีบุตรอัครสาวก
ทั้งคู่ พร้อมด้วยบริษัทบริวารของอาตมา กึ นุ โข ภนฺเต ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา สมเด็จ
พระมหากรุณาธิคุณเจ้ามาตรัสดังนี้ จะว่าดีไม่มีโกรธหรือ โยมนี้เข้าใจแน่ทีเดียวว่า สมเด็จพระ
พุทธองค์เจ้าทรงโกรธเป็นมั่งคง ถ้าแม้ว่าพระองค์ทรงขับพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะผู้
อัครสาวกซ้ายขวานั้นเป็นมั่นคงฉะนี้แล้ว คำเดิมนี้ที่พระพุทธฎีกาตรัสว่า อโกธโน ตถาคต
ไม่มีโกรธ วิคตขีโล ตถาคตมีโทษคือโทโสเป็นดังหลักตอปราศจากสันดานแล้ว คำนี้ก็ผิด
ครั้นจะถือคำเดิมนี้ คำตรัสทีหลังก็จะผิด หรือว่าพระองค์เจ้าไม่มีจิตโกรธโปรดขับเสียด้วยจิต
ยินดี ก็ใช่ท่วงใช่ทีใช่เหตุใช่ผล โยมคิดแล้วให้ฉงนครัน อยํ ปญฺโห อันว่าปัญหานี้เป็นอุภโตโกฏิ
นิมนต์โปรดวิสัชนาให้แจ้งวิมัติกังขาในกาลบัดนี้
เถโร ฝ่ายพระนาคเสนผู้มั่นด้วยศีลาทิคุณอันวิเศษจึงถวายพระพรว่า มหาราช
ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐมหาศาล สมเด็จพระโลกุตตมาจารย์เจ้า
มีพระพุทธฎีกาโปรดไว้ว่า ตถาคตนี้ อโกธโน หาความโกรธมิได้ วิคตขีโล มีหลักคือโทโส
ในสันดานผลาญเสียแล้ว พระองค์ตรัสฉะนี้แล้ว มีพระพุทธฎีกาตรัสขับพระสารีบุตรและ
พระโมคคัลลานะ พร้อมด้วยบริษัทนั้น ใช่ว่าพระองค์จะทรงโกรธหามิได้ จะเปรียบฉันใดนะ
บพิตรพระราชสมภาร มีครุวนาปานบุรุษผู้หนึ่งสัญจรบนพื้นพสุธา ปกฺขลิตฺวา บุรุษผู้นั้น
ประมาท พลาดล้มลง ถูกรากไม้ก็ดี ถูกศิลาและหลักตอสิ่งหนึ่งสิ่งใดนั้นก็ดี จะว่าพสุธาธรณีนั้น
มีความโกรธหรือว่าหามิได้
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า นตฺถิ ภนฺเต ข้าแต่
พระผู้เป็นเจ้า พสุธานั้นจะได้มีความโกรธนั้นหามิได้ ประการหนึ่ง โกโป วา ความโกรธก็ดี
ปสาโท วา ความเสื่อมใสก็ดี จะได้มีแก่พสุธานั้นก็หามิได้ อยํ มหาปฐวี อันว่าแผ่นดิน
อันใหญ่ อนุนยปฏิฆวิปฺปามุตฺตา จะได้มีจิตรักใคร่และโกรธแค้นหามิได้ สยเมว โส บุรุษผู้
นั้นประมาทพลาดล้มลงเอง น สญฺญาย ด้วยตัวมิได้สำคัญสัญญา จะโทษเอาว่าพสุธาโกรธขึ้ง
จึงเผอิญให้ต้องบาดเสี้ยนหนาม ทั้งนี้หาถูกไม่
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า ยถา มีครุวนาฉันใดบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จ